วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System)
                                                  
ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System) หรือที่เรียกว่า ดีบีเอ็มเอส (DBMS) เป็นกลุ่มโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในระบบติดต่อระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล เพื่อจัดการและควบคุมความถูกต้อง ความซ้ำซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูล ซึ่งต่างจากระบบแฟ้มข้อมูลที่หน้าที่เหล่านี้จะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ ในการติดต่อกับข้อมูลในฐานข้อมูลไม่ว่าจะด้วยการใช้คำสั่งในกลุ่มดีเอ็มแอล (DML) หรือ ดีดีแอล (DDL) หรือจะด้วยโปรแกรมต่างๆ ทุกคำสั่งที่ใช้กระทำกับข้อมูลจะถูกดีบีเอ็มเอสนำมาแปล (คอมไพล์) เป็นการปฏิบัติการ (Operation) ต่างๆ ภายใต้คำสั่งนั้นๆ เพื่อนำไปกระทำกับตัวข้อมูลภายในฐานข้อมูลต่อไป สำหรับส่วนการทำงานตางๆ ภายในดีบีเอ็มเอสที่ทำหน้าที่แปลคำสั่งไปเป็นการปฏิบัติการต่างๆ กับข้อมูลนั้น ประกอบด้วยส่วนการปฏิบัติการดังนี้

หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล
แปลงคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบที่ฐานข้อมูลเข้าใจ
นำคำสั่งต่าง ๆ ซึ่งได้รับการแปลแล้ว ไปสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน เช่น การเรียกใช้ (Retrieve) จัดเก็บ (Update) ลบ (Delete) เพิ่มข้อมูล (Add) เป็นต้น
ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล โดยจะคอยตรวจสอบว่าคำสั่งใดที่สามารถทำงานได้ และคำสั่งใดที่ไม่สามารถทำงานได้
รักษาความสัมพันธ์ของข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้มีความถูกต้องอยู่เสมอ
เก็บรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลไว้ในพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้มักจะถูกเรียกว่า เมทาดาตา (MetaData) ซึ่งหมายถึง "ข้อมูลของข้อมูล"
ควบคุมให้ฐานข้อมูลทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ควบคุมสถานะภาพของคอมพิวเตอร์ในการแปลสถาพฐานข้อมูล ส.ท

ข้อดีและข้อเสียของการใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล
ข้อดีของการใช้ฐานข้อมูล
เมื่อมีการนำระบบการจัดการฐานข้อมูลมาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูล แก้ไขปรับปรุงข้อมูล ค้นหาข้อมูล รวมทั้งกำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูล เป็นต้น ทำให้ฐานข้อมูลมีข้อดีมากมาย ได้แก่

          1. ลดความจำเจของงานดูแลเอกสาร ซึ่งเป็นงานประจำที่ทำให้ผู้ดูแลรู้สึกเบื่อหน่าย และขาดแรงจูงใจ แต่เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานนี้แทนมนุษย์ได้ โดยผ่านโปรแกรมสำหรับการจัดการฐานข้อมูล

          2. ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย เมื่อข้อมูลในระบบฐานข้อมูลได้รับการดูแลปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นข้อมูลที่มีความทันสมัย ตรงกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน และตรงกับความต้องการอยู่เสมอ

          3. ลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูล เนื่องจากการจัดทำฐานข้อมูลจะมีการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆ เข้ามาจัดเก็บไว้ในระบบและเก็บข้อมูลเพียงชุดเดียว ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้  เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ และทำให้เกิดความรวดเร็วในการค้นหาและจัดเก็บข้อมูลด้วย

          4. หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้ เมื่อข้อมูลถูกจัดเก็บในระบบฐานข้อมูล จะทำให้ข้อมูลลดความซ้ำซ้อนลง คือ มีข้อมูลแต่ละประเภทเพียงหนึ่งชุดในระบบ ทำให้ข้อมูลที่เก็บได้ไม่ขัดแย้งกันเอง ในกรณีที่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน เพื่อสาเหตุบางประการ เช่น เพื่อความรวดเร็วในการประมวลผลข้อมูล ระบบจัดการฐานข้อมูลจะเป็นผู้ดูแลข้อมูลที่ซ้ำกันให้มีความถูกต้องตรงกัน

          5. ใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เนื่องจากระบบการจัดการฐานข้อมูลสามารถจัดให้ผู้ใช้แต่ละคนเข้าใช้ข้อมูลในแฟ้มที่มีข้อมูลเดียวกันได้ในเวลาเดียวกัน เช่น ฝ่ายบุคคลและฝ่ายการเงิน สามารถที่จะใช้ข้อมูลจากแฟ้มประวัติพนักงานในระบบฐานข้อมูลได้พร้อมกัน

          6. ควบคุมมาตรฐานของข้อมูลได้ เมื่อข้อมูลต่างๆ ในหน่วยงานถูกรวบรวมเข้ามา ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถที่จะวางมาตรฐานในการรับข้อมูล แสดงผลข้อมูล ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้ เช่น การกำหนดรูปแบบของตัวเลขให้มีทศนิยม 2 ตำแหน่งสำหรับค่าที่เป็นตัวเงิน การกำหนดรูปแบบของการรับ และแสดงผลสำหรับข้อมูลที่เป็นวันที่ นอกจากนี้การที่ข้อมูลมีมาตรฐานเดียวกัน ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบได้อย่างสะดวก

          7. จัดทำระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้ ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถกำหนดรหัสผ่านเข้าใช้งานข้อมูลของผู้ใช้แต่ละราย โดยระบบการจัดการฐานข้อมูลจะทำการตรวจสอบสิทธิ์ในการทำงานกับข้อมูลทุกครั้ง เช่น การตรวจสอบสิทธิ์ในการเรียกดูข้อมูล   การลบข้อมูล  การปรับปรุงข้อมูล   และการเพิ่มข้อมูลในแต่ละแฟ้มข้อมูล
          8. ควบคุมความถูกต้องของข้อมูลได้   ปัญหาเรื่องความขัดแย้งกันของข้อมูลที่มีความซับซ้อน เป็นปัญหาหนึ่งในเรื่องความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งเมื่อได้มีการกำจัดความซับซ้อนของข้อมูลออก ปัญหาเรื่องความถูกต้องของข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น อายุโดยปกติของคนงาน ควรอยู่ระหว่าง 18 – 60 ปี ถ้าหากในระบบฐานข้อมูล ปรากฏมีพนักงานที่มีอายุ 150 ปีซึ่งเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติที่หน่วยงานจะมีการว่าจ้างคนงานที่มีอายุเกิน 60 ปี และอายุของคนในปัจจุบันไม่ควรเกิน 100 ปี ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ในการนำเข้าข้อมูล และระบบจัดการฐานข้อมูลจะคอยควบคุมให้มีการนำเข้าข้อมูล เป็นไปตามกฎเกณฑ์ให้มีความถูกต้อง

  ข้อเสียของการใช้ฐานข้อมูล
          แม้ว่าการประมวลผลข้อมูลด้วยระบบการจัดการจัดการฐานข้อมูล จะมีข้อดีหลายประการ แต่ก็จะมีข้อเสียอยู่บ้างดังต่อไปนี้

          1. เสียค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากราคาของโปรแกรมที่ใช้ในระบบการจัดการฐานข้อมูลจะมีราคาค่อนข้างแพง รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง คือ ต้องมีความเร็วสูง มีขนาดหน่วยความจำและหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่มีความจุมาก ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการจัดทำระบบการจัดการฐานข้อมูล

          2. เกิดการสูญเสียข้อมูลได้ เนื่องจากข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในที่เดียวกัน ดังนั้นถ้าที่เก็บข้อมูลเกิดมีปัญหา อาจทำให้ต้องสูญเสียข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูลได้ ดังนั้นการจัดทำฐานข้อมูลที่ดีจึงต้องมีการสำรองข้อมูลไว้เสมอ
อ้างอิง 
ลักษณะการจัดการสารสนเทศที่ดี
เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาล เวลา วิธีจัดการฐานข้อมูลก็ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ การจัดการฐานข้อมูลจึงเป็นศาสตร์ที่มีการศึกษาเล่าเรียนกันในหลาย ๆ ระดับ การจัดการฐานข้อมูลจะยึดหลักการที่สำคัญคือ
1) ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม โดยกระจายอยู่ในหลาย ๆ แฟ้ม มักจะพบปัญหาของการปรับแก้ไขข้อมูล เพราะต้องคอยปรับปรุงข้อมูลให้ครบทุกแฟ้ม มิฉะนั้นจะพบกับปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูล ซึ่งทำให้การบริหารข้อมูลทำได้ยากข้อมูลจึงควรได้รับการออกแบบและเก็บอยู่ใน ฐานข้อมูลที่ใดที่เดียว เพื่อลดความซ้ำซ้อน
ในการกำหนดรูปแบบข้อมูลจะต้องทำให้ข้อมูลทั้งฐานข้อมูลเป็นรูปเดียวกัน เช่น การกำหนดข้อมูลชื่อ ให้ใช้ชื่อแล้วเว้นช่องว่างจึงเป็นนามสกุล และมีตำแหน่งต่อท้ายแทนการขึ้นต้น เช่น พ.ท. สมชาย ดีใจ เก็บเป็น สมชาย ดีใจ พ.ท. เป็นต้น เมื่อมีการกำหนดรูปแบบข้อมูลที่ชัดเจน และถือปฏิบัติใช้ทั้งฐานข้อมูลก็จะลดปัญหาการจัดการฐานข้อมูลลงไปได้มาก ทำให้ข้อมูลเป็นกลางและใช้ร่วมกันได้ นอกจากนี้ยังมีหลายสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูลในฐานข้อมูล ซึ่งจะต้องคำนึงถึงในการออกแบบฐานข้อมูล
ข้อมูล จะต้องใช้งานได้กับผู้ใช้หลาย ๆ ประเภท หรือหลายแบบ เช่น ข้อมูลในฐานข้อมูลของจังหวัด จะต้องใช้ได้ทุกอำเภอ
ความ ต้องการข้อมูลของแต่ละหน่วยงานอาจมีรายละเอียดที่ต่างกัน เช่น แผนกขายต้องการชื่อที่อยู่ของลูกค้าเพื่อติดต่อส่งเสริมการขาย แผนกติดตามหนี้ต้องการได้รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติหนี้ค้างของลูกค้า
การเรียกชื่อข้อมูล อาจจะเรียกแตกต่างกัน เช่น ชื่อสินค้า อาจเรียกได้หลายอย่างในชื่อสินค้าเดียวกัน
2) กำหนดมาตรฐานข้อมูล ในการสร้างฐานข้อมูลจะต้องให้ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นมาตรฐาน มีการกำหนดรหัสที่เป็นมาตรฐาน มีการกำหนดคำหลัก (keyword) หรือค่าที่ใช้แทนข้อมูลอย่างเดียวกันเพื่อให้ได้ความหมายต่อการใช้งานที่ดี
3) มีระบบป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล จำเป็นต้องจัดแบ่งระดับความสำคัญของข้อมูลเพื่อกำหนดผู้ใช้ มีการควบคุมข้อมูล เพื่อบ่งบอกว่าใครจะเป็นผู้แก้ไขหรือข้อมูลได้บ้าง มีการบันทึกประวัติการแก้ไขข้อมูลเพื่อตรวจสอบ ข้อมูลที่จัดเก็บนั้นอาจมีความสำคัญ ดังนั้นการแก้ไขหรือปรับปรุงข้อมูลโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั้นอาจทำให้ข้อมูล เสียหายได้
4) มีความเป็นอิสระจากโปรแกรม ระบบจัดการฐานข้อมูลที่ดีจะต้องเป็นระบบที่ ข้อมูลและฐานข้อมูลมีความเป็นอิสระจากโปรแกรม ทำให้สามารถใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูลใด ๆ จัดการฐานข้อมูลได้ การออกแบบให้ข้อมูลเป็นอิสระนี้ทำให้ข้อมูลใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุก รูปแบบ
5) รวมข้อมูลเป็นฐานข้อมูลกลาง แต่เดิมมีการเก็บข้อมูลแยกเป็นแฟ้มกระจัดกระจาย จึงต้องเก็บข้อมูลด้วยเทป แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันเป็นฐาน ข้อมูลกลาง ทำให้ระบบการทำงานใช้ข้อมูลร่วมกันได้
การดำเนินงานฐานข้อมูลจะต้องมีการจัดการเตรียมฐานข้อมูลและบริหารข้อมูล โดยจัดแบ่งแยก ปรับปรุงข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องหน้าที่หลักของผู้บริหารฐานข้อมูล จึงประกอบด้วยการจัดเก็บข้อมูล การติดต่อประสานงานกับแหล่งข้อมูลและที่มาของข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล แบ่งกลุ่ม จัดลำดับ กำหนดรหัสข้อมูล สรุปผลทำรายงาน คำนวณเก็บรักษาข้อมูลโดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและเชื่อถือได้ของข้อมูล การค้นหาข้อมูล การสำรวจข้อมูล และเผยแพร่แจกจ่ายข้อมูล
ระดับสารสนเทศ

สารสนเทศมี 3 ระดับ ดังนี้
ระบบสารสนเทศระดับบุคคล        เป็นระบบที่ช่วยให้แต่ละบุคคล สามารถทำงานในหน้าที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จเป็นเครื่องช่วยในการทำงาน โดยที่พนักงานจะต้องเลือกใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับหน้าที่ของตน ซึ่งในปัจจุบันโปรแกรมก็ได้พัฒนาให้มีความเหมาะสมกับงานเฉพาะด้านมาขึ้น เช่น โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Database) โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing) โปรแกรมจัดทำและตกแต่งรูปภาพ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น พนักงานบัญชีก็ควรที่จะเลือกใช้โปรแกรมตารางทำงานหรือโปรแกรมบัญชี

ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม        วัตถุประสงค์ของระบบสารสนเทศระดับกลุ่มก็คือ การใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดไม่ว่าจะเป็นการใช้ข้อมูลร่วมกันหรือการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกัน ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานนั่นเอง ส่วนใหญ่แล้วระบบสารสนเทศกลุ่ม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายแลน (Local Area Network:Lan) ทำให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
ได้เป็นอย่างดี และการเก็บข้อมูลอยู่ที่ศูนย์กลางที่เรียกว่า (File Sever)
 เมื่อผู้ใดต้องการใช้ก็สามารถเรียกข้อมูลนั้นมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อต้องมีการแก้ไขข้อมูล เมื่อผู้อื่นเรียกใช้ข้อมูลนั้นก็จะได้รับข้อมูลที่ได้รับการแก้ไขแล้วทันที นอกจากนี้ การใช้ระบบสารสนเทศระดับกลุ่มนี้ยังมีเทคโนโลยีที่สนับสนุนในการทำงานอีก เช่น การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การจัดฐานข้อมูล การประชุมทางไกล (Video conference) การใช้แฟ้มข้อมูลร่วมกันเป็นต้น

ระบบสารสนเทศระดับองค์กร        เปรียบเสมือนการเอาระบบสารสนเทศระดับกลุ่มมารวมเข้าด้วยกันเพราะระดับสานสนเทศระดับองค์กรนี้เป็นภาพรวมของหลายๆ แผนก เพื่อสนับสนุนงานด้านการบริหารและการจัดการให้สะดวกยิ่งขึ้น การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็อาจจะเชื่อมเครือข่ายในระดับกลุ่มเข้าด้วยกัน แต่ระบบสารสนเทศระดับองค์กรนี้จะต้องมีการจัดการฐานข้อมูลเพื่อช่วยดูแลข้อมูลทั้งหมดภายในองค์กร

ระบบสารสนเทศระดับบุคคล
ระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือ ระบบข้อมูลที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้บุคลากรในแต่ละคนในองค์กร ระบบสารสนเทศระดับบุคคลนี้มีแนวทางในการประยุกต์ที่ช่วยให้การทำงานในหน้าที่รับผิดชอบและส่วนตัวของผู้นั้นมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม
ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคล ที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  โดยทำให้เป้าหมายของธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิผล      แนวทางหลักก็คือการทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรร่วมกันโดยเฉพาะข้อมูล และอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐาน การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาเชื่อมกันเป็นเครือข่ายท้องถิ่นหรือเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN) ทำให้มีการเชื่อมโยงและใช้ทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดดิสค์ และเครื่องพิมพ์ร่วมกัน ข้อมูลที่ใช้ร่วมกันในแผนกจะบรรจุไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่ควบคุมการจัดเก็บแฟ้มข้อมูลกลางที่เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (File Server) ถ้ามีการแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูลกลางนี้โดยผู้ใช้คนใดคนหนึ่งเมื่อใด ผู้ใช้คนอื่นที่ใช้อยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้ก็จะได้รับข้อมูลที่ผ่านการแก้ไขแล้วนั้นทันที  
ระบบสารสนเทศสระดับองค์กร
ระบบสารสนเทศระดับองค์กร คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนงานขององค์กรในภาพรวม ระบบในลักษณะนี้จะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก โดยการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและส่งผ่านถึงกันจากแผนกหนึ่งข้ามไปอีกแผนกหนึ่งได้ ระบบสารสนเทศดังกล่าวนี้จึงสามารถสนับสนุนงานการใช้ข้อมูลเพื่อการบริหารงานในระดับผู้ปฏิบัติการ และสนับสนุนงานการบริหารและจัดการในระดับที่สูงขึ้นได้ด้วย เนื่องจากสามารถให้ข้อมูลจากแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาประกอบการตัดสินใจ โดยอาจนำข้อมูลมาแสดงในรูปแบบสรุป หรือในแบบฟอร์มที่ต้องการได้ บ่อยครั้งที่การบริหารงานในระดับสูงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลร่วมกันจากหลายแผนกเพื่อประกอบการตัดสินใจ ระบบการประสานงานเพื่อการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจการค้า และยังมีระบบการสื่อสารหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระหว่างฝ่ายได้ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลไปตามสารการเชื่อมโยง เนื่องจากจุดประสงค์ของการทำธุรกิจก็เพื่อสร้างผลกำไรให้กับบริษัท
ในเชิงเทคนิคระบบสารสนเทศระดับองค์กรอาจจะมีระบบคอมพิวเตอร์ที่ดูแลแฟ้มข้อมูล มีการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลายระบบเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายระดับท้องถิ่น หรืออาจมีเครือข่ายระดับกลุ่มอยู่แล้ว จึงเชื่อมโยงเครือข่ายย่อยเหล่านั้นเข้าด้วยกัน กลายเป็นเครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในกรณีที่มีจำนวนผู้ใช้ในองค์กรมาก เครื่องมือพื้นฐานอีกประการหนึ่งของระบบข้อมูล ก็คือ ระบบจัดการฐานข้อมูล ซึ่งเป็นโปรแกรมสำคัญในการช่วยดูแลระบบฐานข้อมูลและการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
 ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง ในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
     นักเรียนลองนึกดูว่า ถ้าต้องการประมวลผลรายงานการเรียนของนักเรียนได้อย่าง ถูกต้อง รวดเร็ว ทันการ ระบบการจัดการสารสนเทศนั้น เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ประการแรกคือ บุคลากรหรืออาจารย์ประจำชั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบ หรืออาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชา ประการที่สอง คือ หากมีการบันทึกข้อมูลก็ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานของอาจารย์เป็นขั้นตอนที่กำหนดไว้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เมื่อไร อย่างไร ประการที่สาม คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องช่วยให้การทำงานให้ผลรวดเร็ว และคำนวณได้แม่นยำถูกต้อง ประการที่สี่ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ต้องการได้ ประการสุดท้ายคือ ตัวข้อมูลที่เป็นเสมือนวัตถุดิบที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นสารสนเทศตามที่ต้องการ
มี 5 องค์ประกอบ  ได้แก่  ฮาร์ดแวร์   ซอฟต์แวร์   ข้อมูล บุคลากร  และขั้นตอนการปฏิบัติงาน


1.            ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หมายถึง เครื่อง        คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
2.            ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
3.            ข้อมูล เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์
4.            บุคลากรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์
5.            ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ

ข้อมูล เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกัน ขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถานศึกษามักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่าง ๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการให้เกิด สารสนเทศ
ฮาร์ดแวร์ หมายถึง : อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานตามชุดคำสั่งได้และ ให้ผลลัพธ์ตามต้องการ ประกอบด้วย
อุปกรณ์ป้อนข้อมูลเข้า
หน่วยประมวลผลกลาง
อุปกรณ์แสดงผล
อุปกรณ์ความจำสำรอง
     1.1 หน่วยรับข้อมูล
ทำหน้าที่รับข้อมูลโปรแกรม ต่างๆ ที่ส่งผ่านอุปกรณ์เข้ามาเก็บ ไว้ในหน่วยความจำ ได้แก่ แป้นพิมพ์, เมาส์, Joystick ฯลฯ
     1.2 หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทั้งหมด แบ่งออกเป็น 2 หน่วย คือ
          1.2.1 หน่วยควบคุม         
          1.2.2 หน่วยคำนวณและตรรกะ
          1.2.3 หน่วยความจำ เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่จำหรือเก็บคำสั่ง และข้อมูลต่างๆ รวมทั้งผลลัพธ์ที่ส่ง มาจากหน่วยคำนวณ หน่วยความจำอาจมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หน่วยเก็บ ข้อมูล
     1.3 หน่วยแสดงผล
เป็นหน่วยที่แสดงผลออกมาทางสื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ จอภาพ, เครื่องพิมพ์, เครื่องเจาะบัตร เป็นต้น
ระบบเอทีเอ็ม

ธนาคารใดที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเอทีเอ็มได้ก่อนและให้บริการที่เหนือกว่า ก็สามารถดึงส่วนแบ่งการตลาดได้สูงมากเหนือคู่แข่ง เนื่องจากได้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นกลยุทธ์การแข่งขันในแง่การปรับปรุงการบริการแก่ลูกค้า เช่น ปรากฏการณ์ที่ธนาคารไทยพาณิชย์นำระบบคอมพิวเตอร์แบบเชื่อมตรงมาบริการการใช้ เอทีเอ็ม และประสบความสำเร็จได้ก่อนจึงมีโอกาสดึงส่วนแบ่งการตลาดได้สูง
เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของระบบเอทีเอ็ม ก็คือ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่รวบรวมข้อมูลบัญชีเงินฝากของลูกค้าธนาคารไว้ในฐานข้อมูล กับเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล ทำให้สามารถเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ออกไปทั่วเมือง ทั่วประเทศ หรือทั่วโลกได้ ผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มสามารถเบิกเงินจากธนาคารได้จากตู้เอทีเอ็มที่ติดตั้งอยู่ทั่วไป ทุกครั้งที่ลูกค้าใช้บัตรเอทีเอ็มจากตู้เอทีเอ็มจะมีการสื่อสารข้อมูลไปยังฐานข้อมูลกลางที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารที่เก็บข้อมูล ยอดเงินฝากและรายการฝากถอนเงินของลูกค้า ฐานข้อมูลนี้มีลักษณะสำคัญที่เรียกว่าเป็นฐานข้อมูลกลาง ในความหมายที่ว่า ลูกค้ามีบัญชีเงินฝากในธนาคารแห่ง นั้น ๆ จะมีข้อมูลอยู่ที่ฐานข้อมูลกลางเพียงชุดเดียว และด้วยระบบการสื่อสารข้อมูลในลักษณะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้จากระยะไกล นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังช่วยจัดการประมวลผลรายการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น การฝาก การโอน และการถอน ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ
เทคโนโลยีฐานข้อมูลกลางทำให้สามารถเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้เพียงชุดเดียว ไม่จำเป็นต้องสำเนาหลายชุด สามารถเรียกใช้และแก้ไขได้จากระยะไกล และเมื่อมีการแก้ไขแล้วทุกคนที่เข้ามาใช้ข้อมูลในภายหลังก็จะได้รับข้อมูลที่ทันสมัย การประมวลผลอัตโนมัติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายนี้ เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นความสำคัญของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถนำมาประยุกต์ในงานต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การและธุรกิจได้อีกมากมาย
เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบATM
ระบบการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่กำลังเป็นเทคโนโลยีที่มีผู้กล่าวถึงและให้ความสนใจกันมากในขณะนี้อีกระบบหนึ่งคือ ATM ATM ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ไม่ใช่ระบบการเบิกถอนเงินสดATM มาจากคำย่อของ Asynchronous Transfer Mode
                ATM เป็นระบบสื่อสารข้อมูลที่ใช้รูปแบบการสื่อสารเป็นแบบ แพ็กเก็จ เหมือนเช่นในเครือข่ายX.25 หรือระบบ LAN อื่น ๆ เช่น อีเทอร์เน็ตโทเกินริง แต่การสื่อสารเป็นแบบอะซิงโครนัสกล่าวคือ ตัวรับและตัวส่งใช้สัญญาณนาฬิกาแยกจากกันไม่เกี่ยวข้องกัน  สิ่งที่ ATM แตกต่างจากระบบ แพ็กเก็จสวิตชิ่ง   อื่น ๆ คือ ATM ส่งข้อมูลด้วยขนาดของแพ็กเก็จที่ทุกแพ็กเก็จมีจำนวนข้อมูลเท่ากันเสมอ แพ็กเก็จของ ATM มีขนาด 53 ไบต์ โดยให้ 5 ไบต์แรกเป็นส่วนหัวที่จะบอกรายละเอียดของแอดเดรสและมีส่วนข้อมูลข่าวสารอีก48 ไบต์ตามมา เราเรียกแพ็กเก็จของ ATM ว่า " เซล "
                การออกแบบให้เซลข้อมูลมีขนาดสั้นก็เพื่อความเหมาะสมที่จะประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางขึ้นคือ ใช้รับส่งข้อมูล เสียง ภาพหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการส่งผ่านกันและกันด้วยความเร็วสูง

รูปที่ 1 เปรียบเทียบเครือข่าย ATM กับระบบอีเทอร์เน็ต

รูปที่ 2 เครือข่าย ATM แบบ WAN
การรับส่งสัญญาณ ATM จึงใช้ช่องสื่อสารที่มีความเร็วต่าง ๆ ได้ซึ่งผิดกับ LAN เช่น อีเทอร์เน็ต ใช้ความเร็ว 10 Mbps หรือโทเกนริงใช้ 16 Mbps แต่ ATM ใช้กับความเร็วได้ตั้งแต่ 64 Kbps, 45 Mbps, 155 Mbps, 622 Mbps หรือ สูงกว่าก็ได้
                เครือข่าย ATM เป็นเครือข่ายที่ประยุกต์ได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบ LAN หรือ WAN ใช้กับตัวกลางได้ทั้งแบบลวดทองแดงหรือเส้นใยแสง แต่โครงสร้างการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างโหนดเป็นแบบสวิตซ์ที่เรียกว่า ATM Switch การส่งผ่านข้อมูลแต่ละเซลจึงขึ้นกับแอดเดรสที่กำหนด ( รูปที่ 1 )
จากโครงสร้างการผ่านข้อมูลแบบสวิตซ์ด้วยเซลข้อมูลขนาดเล็กของ ATM จึงทำให้เหมาะกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ WAN ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับงานที่ต้องการใช้ความเร็วข้อมูลสูง เครือข่าย WAN ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถใช้เทคนิคของ ATM ได้เช่นกัน ( รูปที่ 2 )
งานประยุกต์ที่กำลังกล่าวถึงกันมากอย่างหนึ่งคือ ระบบหลายสื่อ หรือที่เรียกว่า Multi-Media ระบบการประยุกต์นี้ประกอบด้วย การประมวลผล และส่งข้อมูล ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง ข้อมูลตัวอักษร ฯลฯ ระบบ ATM จึงเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่จะทำให้ระบบหลายสื่อประสบความสำเร็จในการใช้งานต่อไปในอนาคต
ระบบเอทีเอ็ม
  พ.ศ.2520 เป็นปีที่มีการใช้เอทีเอ็มเครื่องแรกของโลก ธนาคารซิตี้ แบงค์ ในเมืองนิวยอร์ก เริ่มให้บริการฝากและถอนเงินโดยอัตโนมัติแก่ลูกค้า ซึ่งสามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมวันเสาร์ อาทิตย์ด้วย ในขณะที่ธนาคารอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ บนถนนสายเดียวกันให้บริการลูกค้าในเวลาปกติเท่านั้น คือ เฉพาะจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 8.00-14.00 น. หลังจากบ่ายสองโมงก็หมดโอกาสได้รับบริการ ฝากถอนเงินแล้ว เมื่อวิเคราะห์มุมมองในการแข่งขันของธนาคาร ในการให้บริการลูกค้า กล่าวได้ว่า ระบบเอทีเอ็มของธนาคารซิตี้แบงค์เป็นบริการใหม่ที่ทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบาย และคล่องตัว ได้ดึงดูดลูกค้าจากธนาคารอื่นมาเป็นลูกค้าของตัวเอง และเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดขึ้นมาเกือบสามเท่าตัว ในช่วงเวลาประมาณ 6 เดือน ก่อนที่ธนาคารคู่แข่งจะไหวตัวทัน และหันมาให้บริการเอทีเอ็มบ้าง
                ประโยคภาษาอังกฤษที่ว่า "Who is the first gains the benefits." หรือ ใครที่มาก่อน ทำก่อน ย่อมได้ผลกำไร ภาพของการนำเอาเทคโนโลยีเอทีเอ็มเข้ามาใช้ก่อนเป็นรายแรกและสร้างความได้เปรียบเชิงธุรกิจเหนือคูแข่งเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกในเมืองใหญ่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นซิดนีย์ โตเกียว ปารีส และรวมทั้งกรุงเทพด้วย กล่าวคือ ธนาคารในเมืองเหล่านั้นที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเอทีเอ็มได้ก่อนและให้บริการที่เหนือกว่า ก็สามารถดึงส่วนแบ่งการตลาดได้สูงมากเหนือคู่แข่ง เนื่องจากได้ใช้ระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์มาเป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันในแง่การปรับปรุงการบริการแก่ลูกค้า เช่น ปรากฎกาณ์ที่ธนาคารไทยพาณิชย์สามารถนำระบบคอมพิวเตอร์แบบเชื่อมตรงมาบริการการใช้เอทีเอ็ม และประสบความสำเร็จได้ก่อน จึงมีโอกาสดึงส่วนแบ่งการตลาดได้สูง